วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การตัดสติง


วันนี้ผมจะสอนการตัดสติงแบบง่ายๆ ด้วยตัวอย่างการดึงข้อมูลผ่านเว็บเซอร์วิสมา (K2SOAP) แต่ข้อมูลที่ได้มาต้องนำมาจัดเรียงข้อมูลใหม่ด้วยการเล่นกับ String ซึ่งจะยกตัวอย่างด้วย JAVA.SE ทั้งหมดเพื่อความเข้าใจได้ง่ายแล้วเราคอ่ยนำมาประยุกต์ใน Android Framework อีกครั้ง
ซึ่งการเขียนโปแกรมที่ดีไม่ควรเขียนแบบหว่านแห หรือ ก๊อปปี้ตัวอย่างในอากู๋มา มันทำให้เราไม่สามารถเข้าใจการเขียนโปแกรมได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นผมจึงต้องมานั้นทำความเข้าใจโครงสร้างโปรแกรมพื้นฐานที่เรียนมาทั้งหมด

ซึ่ง Object พื้นฐานที่ควรทำความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1.) trim(); ใช้ในการตัดช่องว่างออกึงข้อ
2.) substring(); ใช้ดึงข้อความที่กำหนด โดยใส่ตัวเลขกำหนดข้อความเริ่มต้นที่ต้องการ และข้อความที่กำหนด
3.) length() คืนค่าจำนวนข้อความมาเป็นตัวเลข(int) 
4.) split ใช้แยกข้อความสติงไปเป็น Array

Code Example 

public class testString {
public static void main(String args[]) {
String temp[];
String str = new String("[GetFood{FoodID=1; FoodName=abc}GetFood{FoodID=2; +FoodName=abce}GetFood{FoodID=3; FoodName=abcef}]");

System.out.println(str.length());
str = str.substring(1, str.length() - 1);//Cut string Front and black
temp = str.split("GetFood|FoodID=|FoodName=|;|\\{|\\}");
System.out.println(str.length());
System.out.println(str);
System.out.println(temp.length);
for (int i = 0; i < temp.length; i++) {
System.out.print(temp[i]);
}// for loop
System.out.println(" ");
getArr();
}

public static void getArr() {
String str = new String ( "bamboolabcode" );
//System.out.println ( str.substring ( 6, 12 ) );
System.out.println ( str.lastIndexOf ( "a" ) );
}
}


วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชาสัมพันธ์

คณะวิทยาสารสนเทศเปิดรับสมัครนิสิต หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ Bachelor of Science Program in Software Engineering เปิดรับสมัครตรงทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 พ.ย. -- 15 ธ.ค. 2553 เปิดรับสมัครตรงโครงการรับตรงในภาคตะวันออก 12 จังหวัด ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 15 พ.ย. -- 15 ธ.ค. 2553 ผ่านระบบการรับสมัครออนไลน์ของมหาวิทยาลัย ในเว็บไซต์ http://e-admission.buu.ac.th/ เอกรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://se.informatics.buu.ac.th/ * วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer/Developer) * วิศวกรความต้องการ (Requirement Engineer) * เนักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance) * วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer). * นักทดสอบระบบ (Software Tester) * นักบูรณาการระบบ (System Integrator). * นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer) * ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

Hello Word


หลังจากที่ติดตั้งตัวจำลองของ Android ไปแล้ว จากนั้นเราจะลองเขียนโปรแกรมโดยใช้
Eclipse IDE ในการเขียน Hello Word แต่สิ่งที่สำคัญเราต้องตั้งค่า Eclipse IDE ก่อนเพื่อให้ ADT รู้จักกับ Andriod
1. ไปที่ เมนู Window->Preference
2. กด Android Tab ด้านซ้ายมือ มันจะขึ้นเตือนว่า เรายังไม่มีการระบุ path ของ android sdk ให้เรากด Ok เพื่อจะกำหนด
3. กดปุ่ม Browse เพื่อระบุ directory path ที่เรา unzip android sdk ก่อนหน้านี้ ในที่นี้คือ C:\android-sdk-windows
4.กด Ok เลยเป็นอันเสร็จการ ลิงค์ ADT กับ Android SDK



เริ่มต้นด้วยการสร้างโปรเจค Android ใน Eclipse

1. เปิดโปรแกรม Eclipse ขึ้นมา จากนั้นเลือกที่ File > New > Project

ในหน้าต่าง New Project ภายใต้ Android เลือก Andrild

project ดังรูป หลังจากนั้นให้กด Next



2. เมื่อเสร็จจากขั้นตอนแรกแล้วจะได้ดังรูปนี้ โดยกรอกข้อมูลต่อไปนี้

- Project Name: HelloAndroid (ชื่อโปรเจกของ Eclipse - ชื่อของไดเรกทอรีที่จะมีไฟล์โปรเจกอยู่)

- Build Target

: แล้วแต่จะเลือกครับในที่นี้เลือกเป็น 2.2

- Application Name: Hello, Android

- Package Name: com.example.helloandroid (หรือ namespace ส่วนตัวของคุณเอง นี้คือ namespace แพคเกจ (ตามกฎเดียวกันกับสำหรับแพคเกจในภาษา Java) ถ้าจะเปรียบเทียบให้ง่ายๆก็เหมือนเป็น โฟลเดอร์ที่ทำหน้าที่จัดเก็บ Class ต่างๆ ไว้ให้เป็นหมวดหมู่)

- Create Activity: HelloAndroid (ชื่อสำหรับ class stub ที่จะสร้างโดยปลั๊กอินนี้ ซึ่งจะเป็น subclass ของ Android's Activity class)

- Min SDK Version: 8 (ขึ้นอยู่กับวอร์ชั่นของ SDK)

จากนั้นคลิกที่ Finish


ตอนนี้ Project Android ของคุณพร้อมแล้ว คุณจะมองเห็นใน Package Explorer อยู่ด้านซ้าย คลิกเปิดไฟล์ HelloAndroid.java (HelloAndroid > src > com.example.helloandroid) ซึ่งควรมีลักษณะเช่นนี้:

package com.example.helloandroid;
import android.app.Activity;
import android.os.Bundle;

public class HelloAndroid extends Activity {
/** Called when the activity is first created. */
@Override
public void onCreate(Bundle savedInstanceState) {
super.onCreate(savedInstanceState);
setContentView(R.layout.main);
}
}


แต่แก้ให้เป็นแบบนี้***


package com.android.helloandroid;
import android.app.Activity;
import android.os.Bundle;
import android.widget.TextView;

public class HelloAndroid extends Activity {
/** Called when the activity is first created. */
@Override
public void onCreate(Bundle savedInstanceState) {
super.onCreate(savedInstanceState);
TextView tv = new TextView(this);
tv.setText("Hello, Android");
setContentView(tv);

}
}


เนื่องจาก Android SDK มันมีปัญหาไม่ support พ.ศ. จึงต้องให้ไปที่ control panel-> regoinal and language แก้ standards and format เป็น United State แล้วกดโอเคจากนั้น

ลบไฟล์ที่

C:\Documents and Settings\\.android\debug.keystore

จากนั้นถึงมาทดลอง run โปรแกรมครับ เมื่อ run โปรแกรมแล้วไฟล์ debug.keystore จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ที่ regoinal เป็น United State ทั้งหมด เราก็กลับไปแก้ Regional ให้เป็นไทยเหมือนเดิมได้ครับ (ทำแค่ครั้งเดียวไม่ต้องทำใหม่อีก)



ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก

http://www.sweetpepperblog.com

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

เริ่มต้นกับ Android





บทความนี้สร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการทำ project และ เป็นบทความที่เสนอการพัฒนา application บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ แด่ผู้ที่สนใจแบบค่อนข้างละเอียด เนื่องจากทางผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่มีความประสงค์ต้องการพัฒนาโปรแกรมแต่ไม่อยากรวบรวมข้อมูลมากนักและข้อมูลบางแห่งยังไม่ละเอียดสำหรับผู้ที่พื้นฐานด้านนี้ยังไม่แน่นเพียงพอ ซึ่งผู้ที่อ่านบทความจะได้รู้สึกการพัฒนาโปรแกรมเบื่องต้นไปพร้อมกับผู้เขียนเพราะทั้งนี้ตอนแรกผู้เขียนไม่ได้คิดจะพัฒนาโปรแกรมด้าน Mobile แต่เนื่องด้วยความน่าสนใจของ Project ยุคนี้จึงเกิดอารมณ์สนุกสนาน มือสั่นอยากเรียนรู้ขึ้นมาทันที และด้วยความที่ผู้เขียนชอบ Opensource เป็นทุนเดิมจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เราจะทำ Application บน Android กันถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลยครับ

ซึ่งแน่นอนเราต้องทราบก่อนว่า Android มันสามารถทำอะไรได้บ้าง รองรับอะไร ไม่รองรับอะไร เพื่อที่เราจะได้วางแผนการทำ Application ถูกต้องและยืดหยุ่นมากที่สุดครับแต่เราจะมาลงรายละเอียดกันอีกที (เพราะผมก็ยังไม่สรุปได้แน่นอนเหมือนกันว่า จะเขียนอะไรดี แต่อาจารย์แนะนำให้แล้วซึ่งผมต้องศึกษาดูอีกหน่อย) ดังนั้นวันนี้เราจะเอา Hello World มาโชว์หน้า Android กัน จากที่ผมได้ศึกษามาบ้างและทดลองมาได้ขอสรุปว่าเราต้องมี เครื่องมือดังนี้
1.Emulator ของ Android SDK ปัจจุบัน เวอร์ชั่น 2.2 เข้าไปแล้ว สามาเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ http://developer.android.com/sdk/index.html ตอนแรกผมเข้าหาก็มึนอยู่ซักพักด้วยความอ่อนแอของภาษาอังกฤษเลยคลิกกันมั่วตั้วจนได้ Emulator มาสมใจ



2. IDE ซึ่งเราจะใช้ Eclipse IDE สามารถเข้าไปโหลดได้ที่ http://www.eclipse.org/downloads ซึ่งมันสามารถใช้ได้แค่ Eclipse 3.4 (Ganymede) หรือ Eclipse 3.5 (Galileo) ซึ่งผมใช้ version 3.5 สามารถเข้าดาว์นโหลดได้ที่http://www.eclipse.org/downloads/packages/release/galileo/sr2 และเมื่อเข้าไปก็จะมีให้เลือก IDE อีกมากมายซึ่งในที่นี้ผมเลือก Eclipse IDE for Java Developers

3.ซึ่งการที่ eclipse จะสามารถที่จะรันได้ จำเป็นต้องมี JDK สามารถดาว์นโหลดได้ที่http://java.sun.com/javase/downloads/widget/jdk6.jsp ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนลงการลงทะเบียนนิดหน่อยถึงจะสามารถโหลดได้

จากนั้น unzip eclipse แล้วทำการรันโปรแกรม eclipse ขึ้นมา เพื่อทำกา

รติดตั้ง ADT หรือชื่อเต็มๆ ว่า Android Development Tools ซึ่งผมได้แต

กไฟล์ทั้งหมดไปไว้ที่ Local ของ Drive C:

ขั้นตอนการติดตั้งเครื่องมือในการพัฒนา

1.ผมติดตั้ง JDK ก่อนเนื่องจากจะรันเครื่องมือทั้ง .Emulator ของ An

droid SDK กับ IDE Eclipse ใช้

java ในการรัน

2. จากนั้นผมก็รัน Emulator ของ Android SDK โดย Click ที่ SDK Setup.exe ซึ่งในตอนแรกผมติดอยู่ที่ขั้นตอนนี้นานมาก เพราะว่าไม่ได้ไปติ๊กเลือกตัวอย่าง

ตามถาพนี้ครับ

ถ้าทำทุกอย่างถูกต้อง SDK ก็จะเริ่ม Download ตามรูปนี้ครับ

จากนั้นก็รอสักพักใหญ่ ๆ เพราะว่าตอนเลือกติดตั้งผมเลือก Accept All SKD จึง Download ทุกเวอร์ชั่นที่มีอยู่

ขั้นตอนการติดตั้ง ADT

1. เปิด Eclipse IDE ขึ้นมา

ไปที่ Help > Install New Software

2.กดที่ ปุ่ม Add

3.ให้เรากรอกข้อมูล Location เป็น https://dl-ssl.google.com/android/eclipse/ แล้วก็ตั้งชื่อ เสร็จแล้วกดปุ่ม OK

4.รอการตรวจสอบจาก จะได้ดังรูป เสร็จแล้วให้เรากด เลือก Checkbox Developer Tools แล้วกด Next เรื่อยๆ จนกว่าจะมีปุ่ม Finish


5.ถ้าทุกอย่างถูกต้องเมื่อเปิด eclipse ใหม่อีกครั้งคราวนี้เราจะเห็นว่ามี Android SDK and ADV Manager อยู่ใน Window > Android SDK and ADV Managerตามภาพด้านล่าง



6. เปิด Emulator ของ Android SDK โดย Click ที่ SDK Setup.exe แล้วไปที่ Virtual Devices จากนั้นสังเกตุทางด้านปุุมขวามือ แล้วกด New จะปรากฎตัวอย่างดังภาพด้านล่าง


ซึ่งช่อง Name ก้คือชื่อที่เราตัวเครื่อง Android จำลองของเรา ส่วน target ในที่นี้ผมเลือกรุ่นล่าสุด ช่อง SD Card คือความจุของตัวเก็บข้อมูลสำรอง (SD Card จำลองนั้นเอง) ส่วน Hardware คือส่วนที่เราจะ include เข้ามา เช่นพวกกล้องถ่ายภาพ หรือ Application หรือ GPS เป็นต้น และ+
เมื่อตั้งค่าทุกอย่างตามที่ต้องการแล้ว กด Create AVD จากนั้นกดที่ปุ่ม Start ก็จะได้ตัว Emulator แล้ว



ขอบคุณข้อมูลจาก